คอนกรีตผสมเสร็จ 084-2492355 คอนกรีตผสมเสร็จใกล้ฉัน ราคาคอนกรีตผสมเสร็จ ปูนผสมเสร็จ ปูนมิกซ์ ปูนตราช้าง รถปูนโม่ใหญ่-ปูนโม่เล็ก คิวละ1,699-2,999

คอนกรีตผสมเสร็จคืออะไร คอนกรีตคืออะไร 084-2492355

฿0.00
คอนกรีตผสมเสร็จคืออะไร คอนกรีตคืออะไร คอนกรีตผสมเสร็จ 084-2492355 คอนกรีตผสมเสร็จราคาถูก ราคาคอนกรีตผสมเสร็จ ปูนผสมเสร็จ ปูนมิกซ์
  • หมวดหมู่ : คอนกรีตผสมเสร็จคืออะไร
  • รหัสสินค้า : 000022

รายละเอียดสินค้า คอนกรีตผสมเสร็จคืออะไร คอนกรีตคืออะไร 084-2492355

คอนกรีตคืออะไร

คอนกรีต คือ วัสดุก่อสร้างชนิดหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน เพราะเป็นวัสดุที่มีความเหมาะสมทั้งด้านราคาและคุณสมบัติต่างๆ คอนกรีตประกอบด้วยส่วนผสม 2 ส่วน คือ วัสดุประสาน อันได้แก่ ปูนซีเมนต์กับน้ำ และน้ำยาผสมคอนกรีต ผสมกับวัสดุผสมอันได้แก่ ทราย หินหรือกรวด เมื่อนำมาผสมกันจะคงสภาพเหลวอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง พอที่จะนำไปเทลงในแบบหล่อที่มีรูปร่างตามต้องการ หลังจากนั้นจะแปรสภาพเป็นของแข็ง มีความแข็งแรงและสามารถรับน้ำหนักได้มากขึ้นตามอายุของคอนกรีตที่เพิ่มขึ้น

คอนกรีตผสมเสร็จ

คอนกรีตเป็นวัสดุก่อสร้างที่ใช้กันมานาน ในอดีตการที่จะใช้คอนกรีตสำหรับงานก่อสร้างนั้น ผู้รับเหมาจะต้องเริ่มจาก การสั่งซื้อ หิน ทราย ปูนซีเมนต์ และน้ำยาผสมคอนกรีต จากนั้นจะต้องจัดการหาเครื่องผสมและทีมงาน แต่ในปัจจุบันคอนกรีตผสมเสร็จซึ่งคือ คอนกรีตที่ผสมเสร็จเรียบร้อยจากโรงงาน และลำเลียงใส่รถเพื่อจัดส่งให้หน่วยงานก่อสร้าง ได้เข้ามาทดแทนการใช้คอนกรีตผสมโม่เล็กด้วยเหตุผลที่สำคัญคือ

  1. เวลาและสถานที่ในการก่อสร้างจำกัด
  2. แรงงานหายาก
  3. วงการก่อสร้างต้องการคอนกรีตที่มีคุณภาพสูง

คอนกรีตผสมเสร็จคืออะไร

คอนกรีตผสมเสร็จ คือ ส่วนผสมของปูนซีเมนต์ หิน ทราย น้ำ และน้ำยาผสมคอนกรีต ที่ผสมกันเบ็ดเสร็จจากโรงงาน ซึ่ง ตั้งอยู่นอกหรือในหน่วยงานก่อสร้าง รวมถึงบริการจัดส่งไป ณ. หน่วยงานก่อสร้างโดยรถผสมคอนกรีต ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่า ธุรกิจคอนกรีตผสมเสร็จเป็นทั้งการขายผลิตภัณฑ์ และการขายบริการ จะพบว่า ผู้ควบคุมงานให้ความสนใจในคุณภาพคอนกรีต เป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ผู้รับเหมา ให้ความสนใจในเรื่องการบริการและราคาที่เหมาะสม

ขบวนการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ

การผลิตคอนกรีตผสมเสร็จที่ได้มาตรฐานจะเริ่มจากการตรวจสอบคุณสมบัติของส่วนผสมต่างๆ อันได้แก่ หิน ทราย ที่ได้เลือกจากแหล่งที่มีคุณภาพดีมีส่วนคละถูกต้องตามมาตรฐานมาจัดกองเก็บไม่ให้ผสมกัน ส่วนปูนซีเมนต์จะถูกบรรจุไว้ในไซโลอย่างมิดชิด และน้ำยาผสมคอนกรีตจะถูกบรรจุในภาชนะเฉพาะอย่างมิดชิดเช่นกัน วัตถุดิบดังกล่าวจะถูกลำเลียงสู่ขบวนการผลิตต่อไป

ขบวนการผลิตเริ่มจาก การลำเลียงหิน ทราย ปูน ซีเมนต์ ผ่านเครื่องชั่งให้ได้น้ำหนักถูกต้องที่ออกแบบไว้โดยในขั้นตอนนี้จะต้องคำนึง ถึงสภาพความชื้นของหินทรายด้วย เพราะหินทรายอาจจะไม่อยู่ในสภาพที่ออกแบบหรือสภาพอิ่มตัวผิวแห้ง (SSD) ซึ่งจะต้องปรับน้ำหนักหินทรายและน้ำให้ถูกต้อง ส่วนน้ำและน้ำยาผสมคอนกรีตจะผ่านเครื่องวัดปริมาตร แล้วนำเข้าผสมกันในเครื่องผสมคอนกรีต ซึ่งจะผสมคอนกรีตตามเวลาที่กำหนดด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติที่ให้ความเที่ยงตรง สม่ำเสมอและรวดเร็ว คอนกรีตที่ผสมเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะ๔กลำเลียงลงสู่รถผสมคอนกรีตเพื่อนำไปส่งยังหน่วยงานก่อสร้างต่างๆ

คุณลักษะเด่นของคอนกรีตผสมเสร็จ

  1. วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตคอนกรีตมีคุณภาพตรงตามมาตรฐานงานก่อสร้างทั่วๆไป
  2. มีการควบคุมสัดส่วนผสมของคอนกรีตด้วยวิธีการชั่งน้ำหนัก ทำให้ได้ส่วนผสมคอนกรีตที่ถูกต้อง แน่นอนและสม่ำเสมอ
  3. โรงงานคอนกรีตผสมเสร็จได้รับการพัฒนาจากความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยี่ อยู่เสมอ และสามารถผลิตคอนกรีตได้ตั้งแต่ 30-150 ลบ.ม./ชั่วโมง ซึ่งสามารถช่วยให้งานเทคอนกรีตดำเนินไปได้อย่างรวดเสร็จ และลดจำนวนคนงานที่ใช้ในการผสมคอนกรีตและเทคอนกรีตลงอย่างมาก
  4. แก้ปัญหางานก่อสร้างที่มีบริเวณก่อสร้างจำกัด ไม่สามารถที่จะกองเก็บหิน ทราย หรือ ในงานก่อสร้างที่จะต้องเปลี่ยนสถานที่ที่เทคอนกรีตตลอดเวลาเช่น งานถนน งานคลอง ส่งน้ำ เป็นต้น
  5. แก้ปัญหางานก่อสร้างที่ต้องการใช้คอนกรีตปริมาณครั้งละไม่มากนัก หรืองานที่ต้องการใช้คอนกรีตเป็นระยะห่างๆกัน ซึ่งไม่คุ้มกับการลงทุนซื้อวัสถุผสมมาเก็บไว้ใช้งานเอง
  6. ในงานก่อสร้างที่อัตราการเทคอนกรีตค่อนข้างช้าสามารถแก้ไขได้โดยเติมน้ำยาผสมคอนกรีตที่มีคุณลักษณะยืดระยะเวลาการก่อตัวของคอนกรีต
  7. โดยปกติคอนกรีตผสมเสร็จจะมีราคาแพงกว่า คอนกรีตผสมเองอยู่บ้างเล็กน้อย แต่ก็สามารถทดแทนด้วยคุณภาพของคอนกรีตที่ดีและสม่ำเสมอ นอกจากนั้นยังช่วยให้ทำงานได้โดยสะดวกและที่สำคัญมากคือ ประหยัดเวลาในการก่อสร้าง

                 ********************************************

                                       ได้รับข้อมูล จาก ซีแพค

*************************************************

ซีเมนต์และคอนกรีต

     มีสิ่งก่อสร้างในปัจจุบันเป็นจำนวนมากที่ทำขึ้นด้วยส่วนผสมของซีเมนต์ หิน ทราย และน้ำ เราเรียกส่วนผสมนี้ว่า คอนกรีต คอนกรีตเป็นวัสดุก่อสร้างที่มีปริมาณการใช้งานเพิ่มขึ้นทุกที ทั้งนี้เพราะไม้ซึ่งเป็นวัสดุก่อสร้างที่เคยใช้มาแต่เดิมหายากขึ้นราคาแพง ไม่ทนทาน รับน้ำหนักได้น้อยไม่เหมาะสำหรับการก่อสร้างอาคารหรือสิ่งก่อสร้างใหญ่ๆ และคอนกรีตสามารถหล่อเป็นรูปร่างต่างๆ ตามต้องการได้  จึงสะดวกต่องานก่อสร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารหลายๆ ชั้น สะพาน โรงงาน ท่อระบายน้ำเขื่อนกั้นน้ำ เป็นต้น คอนกรีตจะแข็งแรงมากขึ้นถ้าใส่เหล็กไว้ภายใน เราเรียกคอนกรีตชนิดนี้ว่า "คอนกรีตเสริมเหล็ก" (reinforced concrete)

    ในสมัยโบราณเมื่อยังไม่มีการค้นพบซีเมนต์วัสดุก่อสร้างที่ใช้กับงานก่อสร้างใหญ่ๆ เป็นส่วนผสมของปูนขาว ทราย และน้ำ อาจมีวัสดุอื่นผสม เช่น น้ำอ้อย เป็นต้น เพื่อให้ปูนขาวและทรายยึดตัวกันดี ขึ้น เราเรียกส่วนผสมนี้ว่า "ปูนสอ" (mortar) ในทางปฏิบัติคนสมัยก่อนมักจะเรียกปูนสอว่า ซีเมนต์ คำว่าซีเมนต์มาจากภาษาละติน ซึ่งแปลว่า "ตัด" โดยใช้เรียกหินปูนที่ตัดเป็นชิ้นๆ เพื่อจะนำมาเผาเป็นปูนขาวแต่ซีเมนต์ในปัจจุบันหมายถึงตัวประสานวัสดุสองชนิดหรือหลายๆ ชนิดให้ติดแน่น ในกรณีของคอนกรีตหรือคอนกรีตเสริมเหล็ก ซีเมนต์เป็นตัวทำให้ทรายหิน และเหล็ก ยึดติดกันแน่นเมื่อแห้งและแข็งตัวดีแล้ว

ซีเมนต์

     ซีเมนต์ตามความหมายของการใช้งานทางวิศวกรรม แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ บิทูมินัส (bitu-minous) และนอนบิทูมินัส (nonbituminous) บิทูมินัสซีเมนต์ ได้แก่ มะตอย (asphalts) และน้ำมันยาง (tars)  เราใช้มะตอยหรือน้ำมันยางเป็นตัวประสานหินหรือกรวดในการทำผิวถนน นอกจากนี้ ยังใช้บิทูมินัสซีเมนต์ผสมกับหิน ทราย ราดทำผิวถนน และเรียกส่วนผสมนี้ว่า แอสฟัลต์คอนกรีต (asphalt concrete)

     นอนบิทูมินัสซีเมนต์ ได้แก่ อะลูมินาซีเมนต์ (alumina cement) และปอร์ตแลนด์ซีเมนต์ (portland cement)มีลักษณะเป็นผงสีเทาอ่อน ต้องผสมน้ำปริมาณมากพอสมควร แล้วทิ้งไว้ให้แห้งจึงจะแข็งตัว เรามักจะนิยมเรียกซีเมนต์ชนิดนี้ว่า ไฮดรอลิกซีเมนต์ (hydrau-lic cement) ทั้งนี้ เพราะต้องใช้น้ำผสมและแข็งตัวในน้ำได้ปอร์ตแลนด์ซีเมนต์เป็นซีเมนต์ที่ใช้ในการก่อสร้างมากที่สุด 

การผลิตปอร์ตแลนด์ซีเมนต์

     โดยทั่วๆ ไป กรรมวิธีการผลิตมีอยู่ ๒ แบบคือ แบบผสมเหลว (wet process)  และแบบผสมแห้ง (dry process)

     แบบผสมเหลว

     วัตถุดิบคือดินขาวหรือปูนมาร์ล (marl or calcium cabonate) ดินเหนียว (clay) และดินดำผสมวัตถุดิบทั้งสามชนิดกับน้ำในบ่อตีดิน (wash mill) กวนให้เข้ากันเรียกว่า น้ำดิน (slushy) แล้วกรองเอาก้อนหินก้อนดินออก น้ำดินที่ละลายเข้ากันดีแล้วนำไปเผาในหม้อเผาแบบหมุน ความร้อนในหม้อเผาประมาณ ๒,๕๐๐-๓,๐๐๐ องศาเซลเซียส จะทำให้น้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำดินระเหยกลายเป็นเม็ดปูนซีเมนต์ (clinker) จากนั้นก็นำเม็ดปูนไปบด เติมยิปซัม (gypsum) ลงไปเล็กน้อย เพื่อชะลอการแข็งตัวของซีเมนต์ขณะใช้งาน หลังจากนั้นจะลำเลียงไปเก็บไว้ในยุ้งเก็บซีเมนต์ผง (cementsilo) เพื่อรอการบรรจุลงถุงต่อไป

     แบบผสมแห้ง

       วิธีนี้ใช้วัตถุดิบสำคัญ ๒ ชนิด คือ หินปูน (limestone) และดินดาน (shale) มาผสมกันให้ถูกส่วน แล้วนำไปบดให้เป็นผงละเอียดตามต้องการ ต่อไปจึงนำไปเก็บไว้ในยุ้งเก็บ เพื่อรอส่งไปเผาให้สุกเช่นเดียว กับแบบผสมเหลวในเตาเผาแบบหมุน และบดเป็นผงซีเมนต์อีกครั้ง แบบผสมแห้งเป็นวิธีที่ไม่ต้องการใช้น้ำเข้าผสม และวัตถุดิบที่ใช้ก็ต้องอยู่ในลักษณะแห้งด้วย

     ปัจจุบันนี้นิยมใช้แบบผสมแห้งแทนแบบผสมเหลวซึ่งส่วนใหญ่เลิกใช้แล้ว      ซีเมนต์เมื่อผสมกับน้ำจะเกิดความร้อน ความร้อนที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า ความร้อนที่เกิดจากสารประกอบที่มีน้ำอยู่ด้วย (heat of hydration) ปอร์ตแลนด์ซีเมนต์ แบ่งเป็น ๕ ชนิดด้วยกันคือ       ๑. ชนิดธรรมดา ใช้งานก่อสร้างทั่วไป เช่น ทำผิวถนน สะพาน ท่อระบายน้ำ เป็นต้น ซีเมนต์ชนิดนี้มีข้อเสียคือ ไม่ทนต่อสารที่เป็นด่าง ในโครงสร้างหรืออาคารที่มีสารเป็นด่างอยู่ เช่น โรงงานอุตสาหกรรมเคมี เป็นต้น จะไม่นิยมใช้ซีเมนต์ชนิดนี้          ๒. ชนิดให้ความร้อนและทนด่างได้ปานกลางซีเมนต์ชนิดนี้เมื่อผสมกับน้ำจะคายความร้อนออกต่ำกว่าชนิดธรรมดา และมีความต้านทานต่อสารที่เป็นด่างได้บ้าง เหมาะสำหรับงานก่อสร้างตอม่อขนาดใหญ่ในบริเวณที่มีอากาศร้อนจัด           ๓. ชนิดเกิดแรงสูงเร็ว ซีเมนต์ชนิดนี้เกิดแรงสูงเร็วในระยะแรก เหมาะสำหรับงานที่ต้องการถอดไม้แบบเร็ว และต้องการประหยัดซีเมนต์ ซีเมนต์ ชนิดนี้มีเนื้อละเอียดมากกว่าชนิดอื่นๆ แต่อาจทำให้เกิดรอยร้าวบนผิวคอนกรีตได้ง่าย           ๔. ชนิดคายความร้อนต่ำ ซีเมนต์ชนิดนี้มีอัตราการคายความร้อนต่ำมาก เหมาะสำหรับงานก่อสร้างใหญ่ๆ โดยเฉพาะการสร้างเขื่อน           ๕. ชนิดมีความต้านทานต่อสารที่เป็นด่าง ซีเมนต์ ชนิดนี้ใช้สำหรับอาคารที่ต้องสัมผัสกับสารที่เป็นด่างอย่างแรง โดยปกติซีเมนต์ชนิดนี้จะแข็งตัวช้ากว่าธรรมดา

คอนกรีต

     คอนกรีตคือส่วนผสมของซีเมนต์ ทราย และหินหรือซีเมนต์ ทราย และกรวด ตามสัดส่วนแล้วเติมน้ำลงไปเพื่อให้ทำปฏิกิริยากับซีเมนต์ กลายเป็นตัวประสานซึ่งจะยึดทรายกับหินหรือกรวดเข้าด้วยกันเป็นก้อนแข็ง สัดส่วนที่ใช้โดยทั่วๆ ไปคือ          (๑) ๑:๒:๔ ใช้ผสมทำคอนกรีตสามัญทุกชนิดประกอบด้วยซีเมนต์ ๑ส่วน ทราย ๒ ส่วน และหินหรือกรวด ๔ ส่วน          (๒) ๑:๑.๕:๓  สำหรับคอนกรีตที่ต้องการรับแรงสูงเป็นพิเศษ เช่น ตอม่อใต้น้ำ          (๓) ๑:๓:๖  เป็นคอนกรีตหยาบ ใช้เทเหนือเสาเข็มเพื่อรองรับฐานราก สัดส่วนนี้เป็นสัดส่วนโดยน้ำหนัก แต่ในทางปฏิบัติทั่วไปแล้วสะดวกที่จะใช้สัดส่วนโดยปริมาตร

การหล่อและบ่มคอนกรีต

     ในการเทคอนกรีตลงแบบหรือการหล่อคอนกรีต (placing concrete) พื้น เสา คาน  หรือผนัง มักนิยมใช้ไม้หรือเหล็กทำเป็นแบบให้ได้ขนาดและรูปร่างที่ต้องการ ไม้ที่ใช้เป็นไม้ราคาถูก เช่น ไม้กระบากแต่บางทีก็ใช้ไม้อัดทำไม้แบบสำหรับเทคอนกรีตเพราะไม้อัดทำให้ผิวคอนกรีตเรียบร้อยและไม่ต้องฉาบปูนทับหลังจากเทคอนกรีตลงในแบบประมาณ ๕-๗ วัน คอนกรีตจะแข็งตัว และอัตราการเพิ่มกำลังของคอนกรีตจะสูงประมาณร้อยละ ๗๐ ของกำลังคอนกรีตเมื่ออายุ ๑ เดือน หลังจากนั้นอัตราการเพิ่มกำลังของคอนกรีตจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องทิ้งคอนกรีตไว้อย่างน้อย ๓๐ วัน จึงจะใช้งานได้ เนื่องจากคอนกรีตรับแรงอัดได้สูง แต่รับแรงดึงหรือแรงดัดได้ต่ำมาก ฉะนั้นโครงสร้างที่ต้องรับแรงดึงและแรงดัด เช่น คาน และพื้น หรือในส่วนที่ยื่นออกไป เช่น กันสาด หลังจากถอดไม้แบบแล้วจะต้องใช้เสาไม้ค้ำไว้อย่างน้อยที่สุด ๒๐ วัน เพื่อให้คอนกรีตแข็งพอที่จะรับแรงได้      ดังได้กล่าวมาแล้วว่า เมื่อผสมซีเมนต์กับน้ำซีเมนต์จะคายความร้อนให้กับน้ำซึ่งเป็นส่วนผสมของคอนกรีต ถ้าน้ำในคอนกรีตแห้งเร็วเกินไปโดยการซึมหรือระเหย ความร้อนที่คายจากซีเมนต์จะสะสมอยู่ในคอนกรีต ทำให้คอนกรีตแตกหรือร้าวได้ เพื่อไม่ให้คอนกรีตแตกหรือร้าวเนื่องจากน้ำในคอนกรีตแห้งเร็วเกินไป จึงจำเป็นต้องทำให้คอนกรีตชื้นอยู่อย่างน้อย ๑๕ วัน การรักษาความชื้นในคอนกรีตให้คงที่อยู่นี้เราเรียกว่า การบ่มคอนกรีต (curing concrete) ปัจจุบันนี้ การบ่มคอนกรีตมักไม่ค่อยได้ทำกัน เพราะซีเมนต์ที่ใช้ผสมคอนกรีตเป็นซีเมนต์ชนิดคายความร้อนต่ำ

คอนกรีตเสริมเหล็กและคอนกรีตอัดแรง

     เราทราบกันอยู่แล้วว่าวัตถุเปราะเช่นคอนกรีตหรืออิฐหินนั้นจะสามารถทนต่อแรงกดได้สูง แต่ในขณะเดียวกันไม่สามารถทนต่อแรงดึงหรือแรงดัดได้มากนักจึงใช้เหล็กใส่ไว้ภายในคอนกรีต เหล็กที่ใส่มักเป็นเหล็กเส้น หรือเหล็กรูปพรรณ เมื่อเทคอนกรีตลงไป คอนกรีตที่แห้งแล้วจะยึดติดแน่นกับเหล็ก เรียกว่า คอนกรีตเสริมเหล็ก ฉะนั้น เพื่อให้คอนกรีตมีความคล่องตัวในการใช้งานยิ่งขึ้นจึงได้มีการค้นคว้าคอนกรีตอัดแรง (prestressed concrete) ขึ้น

     คอนกรีตอัดแรงมี ๒ ชนิด ชนิดแรกใช้วิธีดึงเหล็กก่อน (pretensioning method) เช่น การทำเสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรง จะต้องทำแบบเสาไฟฟ้าเป็นโครงเหล็กวางบนพื้นดินก่อน แล้วร้อยลวดเหล็กไปตามความยาวของแบบ ดึงเหล็กนี้ให้ยึดออกตามรายการที่คำนวณไว้ จากนั้นก็จะเทคอนกรีตลงในแบบ เมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้วปล่อยแรงที่ดึงออก เหล็กเส้นที่เป็นโครงภายในก็จะหดตัวกลับ การหดตัวกลับของเหล็กจะทำให้เสาคอนกรีตนั้นมีแรงอัดอยู่ในตัวเองตลอดเวลา อีกวิธีหนึ่งใช้วิธีดึงเหล็กทีหลัง (post-tensioning method) เช่น คานสะพานคอนกรีตอัดแรงวิธีทำนั้นจะต้องทำแบบคานและวางท่อที่จะสอดเหล็กไว้ตลอดความยาวของคาน เมื่อเทคอนกรีตลงในแบบจนแข็งตัวแล้วก็ร้อยลวดเหล็กตามท่อ ยึดปลายเหล็กข้างหนึ่งกับปลายคานให้แน่น แล้วดึงเหล็กอีกปลายหนึ่งให้ยืดออกตามรายการคำนวณ แล้วใช้ลิ่มยึดปลายเหล็กไว้กับปลายคานอีกข้างหนึ่งเป็นเสร็จการในกรณีนี้ก็จะเป็นการเพิ่มแรงอัดให้กับคานคอนกรีตก่อนที่จะนำคอนกรีตไปใช้งาน เมื่อนำคานคอนกรีตไปทำสะพาน คานนี้จะรับน้ำหนักบรรทุกจร (live load  ทำให้เกิดแรงดึงและแรงดัดขึ้น ซึ่งจะหักล้างกับแรงอัดที่มีอยู่แล้วในคานคอนกรีต ดังนั้นจะไม่เกิดแรงดึงในคานคอนกรีต

     จะเห็นได้ว่า คอนกรีตอัดแรงได้ช่วยให้วิศวกรสามารถใช้คอนกรีตสร้างสะพาน หรือ คานคอนกรีตที่มีช่วงยาวมากๆ ทำเสาไฟฟ้าแรงสูงคอนกรีตแทนเสาไม้ ซึ่งเหมาะสมกับความต้องการของประเทศ

ที่มา:

นายชูศักดิ์ แช่มเกษม

นายสมชาย พวงเพิกศึก

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 2

http://guru.sanook.com/enc_preview.php?id=672&title=%AB%D5%E0%C1%B9%B5%EC%E1%C5%D0%A4%CD%B9%A1%C3%D5%B5

*************************************

คอนกรีตผสมเสร็จ 084-2492355 คอนกรีตผสมเสร็จราคาถูก  ราคาคอนกรีตผสมเสร็จ  ปูนผสมเสร็จ  ปูนมิกซ์  คอนกรีตผสมสำเร็จ คอนกรีตมิกซ์  คอนกรีตรถโม่ใหญ่ คอนกรีตรถโม่เล็ก  คอนกรีตรถปูน ปูนช้าง ปูนนกอินทรี ปูนทีพีไอ ปูนดอกบัว สินค้าคุณภาพ สั่งง่าย ส่งไว เน้นงานบริการ

คอนกรีตผสมเสร็จ สเต้ง กำลังอัด Lean(หยาบ) 180ksc 210ksc 240ksc 280ksc 300ksc 320ksc 350ksc 380ksc 400ksc

 

ติดต่อฝ่ายขายคุณธีรวัฒน์ 084-2492355


เวลาติดต่อ 7:59-16:59 น. จันทร์-อาทิตย์


คอนกรีตผสมเสร็จ บริการการขายเฉพาะเขตพื้นที่ กรุงเทพฯ-ปริมณฑล-นนทบุรี-ปทุมธานี-สมุทรปราการ-ใกล้เคียง

บริการช่องทางINTERNETเป็นการบริการลูกค้ารายย่อยเท่านั้นครับ ไม่รับเสนอราคางานโครงการ 

 

การจองสั่งคอนกรีตต้องจองล่วงหน้า1-3 วัน เพื่อให้ได้ตามวันเวลาที่ท่านต้องการใช้

 

********เราค้าขายตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์ สุจริต เน้นงานบริการ ********

 

https://www.facebook.com/pskconcrete/

http://www.smarthomeconcrete.com

http://www.lionmaterialsupply.com/

 

*********

คอนกรีตผสมเสร็จคอนกรีตผสมเสร็จราคาถูกราคาคอนกรีตผสมเสร็จปูนผสมเสร็จ,จำหน่ายคอนกรีตผสมเสร็จ, ขายคอนกรีตผสมเสร็จ, ราคาคอนกรีตสำเร็จรูป, คอนกรีตราคาถูก,ผลิตภัณฑ์คอนกรีต, คอนกรีตมิกซ์ปูนมิกซ์ปูนคอนกรีตคอนกรีตคืออะไร,คอนกรีตผสมเสร็จคืออะไร, , คอนกรีตรถปูนโม่ใหญ่ ,คอนกรีตรถปูนโม่เล็ก,ราคาคอนกรีตผสมเสร็จ 2565,ราคาคอนกรีตผสมเสร็จ 2566   , ราคาคอนกรีตหยาบ Lean, ราคาคอนกรีตผสมเสร็จ 180ksc ,ราคาคอนกรีตผสมเสร็จ 210ksc , ราคาคอนกรีตผสมเสร็จ 240ksc ,ราคาคอนกรีตผสมเสร็จ 280ksc ,ราคาคอนกรีตผสมเสร็จ 320ksc , ราคาคอนกรีตผสมเสร็จ 2565 ,NAMHENG ,TPI, BORAL, FAST, INSEE, SV, V, POC, Qmix, CONCRETE,ชลประทานคอนกรีต, เอเชียผลิตภัณฑ์ซีเมนต์, ผลิตภัณฑ์คอนกรีต, กาญจนาคอนกรีต, ฟาสท์คอนกรีต, น่ำเฮงคอนกรีต, วีคอนกรีต, เอสวีคอนกรีต, พีโอซีคอนกรีต ,คอนกรีตคิวมิกซ์, คอนกรีตตรานกอินทรี,นครหลวง,บัวคอนกรีต,คอนกรีตตราช้าง,ปูนตราช้างปูนนกอินทรีปูนดอกบัว,ปูนพญานาค,คอนกรีตผสมเสร็จกรุงเทพฯ,คอนกรีตผสมเสร็จนนทบุรี,คอนกรีตผสมเสร็จปทุมธานี,คอนกรีตผสมเสร็จสมุทรปราการ,คอนกรีตผสมเสร็จสมุทรสาครรถปั๊มคอนกรีต,รถปั๊มบูม ,รถปั๊มลากจูง, บริการให้เช่ารถปั๊มคอนกรีต,PumpCONCRETE,PumpDee

สินค้าที่เกี่ยวข้อง คอนกรีตผสมเสร็จคืออะไร คอนกรีตคืออะไร 084-2492355